จอมกษัตริย์นาคา 9 พระองค์ "พญามุจรินทร์นาคราช"

พญามุจรินทร์นาคราช
              ครั้งล่วง ๗ วัน ฝนหายขาดแล้ว พญานาคก็คลายขนดจำแลงกายเป็นมานพ เข้าไปถวายอัญชลีเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานวาจาว่า"ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมานะ คือความถือตัวออกให้หมดไปเป็นสุขอย่างยิ่ง"



              ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว เสด็จออกจากร่มไม้มุจลินท์ ไปยังร่มไม้เกตุ อันมีนามว่า"ราชายตนะ"อันอยู่ในทิศทักษิณ แห่งต้นมหาโพธิ์ เสวยวิมุติสุข ณ ที่นั้น สิ้น ๗ วัน เป็นอวสาน ในกาลนั้น ท้าวสักกะอมรินทราธิราช ทรงดำริว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้เสวยพระกระยาหารนับแต่กาลตรัสรู้มาได้ ๔๙ วันแล้ว จึงได้เสด็จลงมาจากเทวโลก น้อมผลสมออันเป็นทิพยโอสถเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผลสมอเสวย แล้วทรงสรีระกิจลงพระบังคม ทรงสำราญพระกายแล้ว เสด็จเข้าประทับยังร่มไม้ราชายตนะพฤกษ์นั้น.

        เมื่อพระพทุธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงใช้เวลาพักผ่อนลำดัง ๗ สัปดาห์ซึ่งเป็นการพักผ่อนในชั่วระยะเวลาอันสั้นเหลือเกินสำหรับผู้ที่ตรากตรำมานานถึง ๖ ปี การพักผ่อนของพระองค์ในคร้งนี้เรียกว่า 'เสวยวิมุตติสุข' คือการได้รับความสุขที่เกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลสเรื่องเศร้าหมองใด ๆ โดยเสด็จประทับในที่ ๗ แห่ง แห่งละ ๗ วัน
      สัปดาห์ที่ ๑ ที่ต้นโพธิ์ (อัสสัตถพฤษ์) เป็นสถานที่ตรัสรู้นั้นเอง เสวยวิมุตติสุขด้วยการพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
      สัปดาห์ที่ ๒ ที่ต้นไทร (อชปาลนิโครธ) ที่นี่มีพราหมณ์ หุหุกชาติมาทูลถามถึงพราหมณ์และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์
      สัปดาห์ที่ ๓ ที่ต้นจิก (มุจลินท์) ทรงพิจารณาว่า ความเงียบเป็นสุขของบุคคลผู้ปฎิบัติธรรม
      สัปดาห์ที่ ๔ ที่ต้นเกต (ราชยตนะ) ที่นี่ได้มีนายพานิช คือ ตปุสสะ ปละภัลลิกะ นำข้าวสัตตุมาถวายแต่พระองค์ นับเป็นปฐมบิณฑบาตหลังจากรัสรู้แล้ว ได้แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระพุทธกับพระธรรมเป็นปฐมอุบาสกในพุทธกาล
      สัปดาห์ที่ ๕ ที่อนิมมิสเจดีย์ (ทางด้านทิศอีกขอต้นโพธิ เพ่งพระเนตรโดยไม่กะพริบเลยตลอด ๗ วัน เพื่อคารวะต่อพระธรรม) 
พญามุจรินท์นาคราช แผ่พังพานกำบังฝนถวายพระพุทธเจ้า เมื่อขณะเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นมุจลินท์ ฝนตกมากถึง ๗ วัน พญามุจรินท์นาคราช มาทำขนดกายรอบพระองค์ ๗ รอบ และแผ่พังพานกำบังฝนถวาน เพื่อป้องกันฝนตกและลม มิให้ถูกพระวรกายของพระพุทธเจ้า หลังจากฝนหายแล้ว พญามุจิรนท์นาคราช คลายขนดออกแปลงร่างเป็นมานพ มายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า ความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวพุทะสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกแต่มักจะสร้างแบบพระนั่งนตัวพญานาค ซึ่งเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม คือคุ้มครองพระศาสดา
นาคสะดุ้ง ที่ราวบันไดโบสถ์ สร้างขึ้นตามความเชื่อถือ 'บันใดนาค' ด้วยความเชื่อดังกล่าว แม้ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ก้โดยบันไดแก้วมณีสีรุ้งที่เทวดาเนรมิตขึ้น และมีพญานาคจำนวน ๒ ตน เอาหลังหนุนบันไดไว้
      สัปดาห์ที่ ๖ ที่รัตนจงกรมอยู่ระหวาต้นโพธิ์ กับอนิมมิสเจดีย์ที่พระองค์เสด็จจงกรม
      สัปดาห์ที่ ๗ ที่เรือนแก้ว ทรงพิจารณธรรม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จอมกษัตริย์นาคา 9 พระองค์ "พญาศรีสุทโธนาคราช"

จอมกษัตริย์นาคา 9 พระองค์ "พญาภุชงค์นาคราช"

จอมกษัตริย์นาคา 9 พระองค์ "พญาศรีสัตตนาคราช"

จอมกษัตริย์นาคา 9 พระองค์ "พญาอนันตนาคราช"

ตำนานคำชะโนด!!! ดินแดนพญานาค